ประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกู้กงเขตภาค
องค์กรและอัตลักษณ์
กระทรวงมหาดไทยของไต้หวันได้อนุมัติให้ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเขตภาคใต้ เพื่อเป็นการสร้างความเท่าเที่ยมกันระหว่างภาคเหนือกับภาคใต้ อีกทั้งนำไปสู่การพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม การศึกษา สังคม และเศรษฐกิจ ณ จังหวัดเจียอี้เซี่ยน เมืองไท่เป่าซื่อ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2547 และจัดให้เป็น “พิพิธภัณฑ์ด้านศิลปะวัฒนธรรมแห่งเอเชีย” พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเขตภาคเหนือหรือเขตภาคใต้ ทั้งสองแห่งนี้ได้สร้างการเกื้อหนุนกัน มีจุดเด่นของภาคเหนือและภาคใต้ซึ่งได้บรรลุแนวคิดที่ว่าศิลปะส่วนเสมอภาค
จุดชมวิวและสถาปัตยกรรมในอุทยาน
A.
สถาปัตยกรรมตัวอาคารพิพิธภัณฑ์
พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติศูนย์ภาคใต้มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 70 เอเคอร์ ประกอบด้วยเขตของพิพิธภัณฑ์ 20 เอเคอร์ เขตอุทยาน 20 เอเคอร์ ตัวอาคารของพิพิธภัณฑ์ออกแบบก่อสร้างโดย เหยา เหยิน สี่ สถาปนิกมีชื่อเสียงที่เน้นศิลปะหมึกพู่กันจีนด้วยแนวคิด “หมึกเข้ม” “บินขาว” และ “ระบาย” และพัฒนาเป็นนามธรรมกับรูปธรรมตัดกันเป็นลายเส้นที่ลงตัว
ส่วนที่เป็นองค์รูปธรรมถูกขนานนามว่า (หอคอยอวิ้นโหลว) มีไว้สำหรับเป็นห้องแสดงและสถานเก็บรักษาศิลปะวัตถุต่าง ๆ ส่วนที่เป็นองค์นามธรรมถูกขนามว่า “หอบินขาว” ภายในหอจัดให้มีห้องรับรองพิเศษ พิพิธภัณฑ์เพื่อการศึกษา ห้องอาหารและเครื่องดื่ม อีกทั้งยังมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกอีกด้วย ทางเดินหลักเริ่มตั้งแต่สะพานชมทิวทัศน์ด้านใต้นั้น ออกแบบให้เป็นลายเส้นโค้งหักศอก สะท้อนให้เห็นภาพแห่งองค์รูปธรรมกับองค์นามธรรมของสวนส่วนกลาง นั่นก็คือหลักแห่ง “การระบาย” ผู้กันจีน แนวเส้นสามสายนี้ยังสื่อความหมายถึง อารยธรรมโบราณใหญ่ 3 แห่งของโลกคือ จีน อินเดีย และเปอร์เซีย ซึ่งทั้ง 3 ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและผสมกลมกลืนกันในอดีต ส่งผลต่อความเจริญรุ่งโรจน์ของความหลากหลายทางศิลปะวัฒนธรรมแห่งเอเชีย การออกแบบโครงสร้างและวัสดุอุปกรณ์ของตัวพิพิธภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันแผ่นดินไหว ป้องกันอุทกภัย ความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ป้องกันภัยธรรมชาติ สติปัญญา ความสะดวกสบาย เป็นต้น เราเน้นคุณภาพสูงสุด อุปกรณ์ป้องกันแผ่นดินไหวพื้ฐานสามารถทนแรงกระแทกได้ถึง 210 ตัน และสามารถป้องกันการเกิดผลกระทบจากแผ่นดินไหวได้อย่างปลอดภัย ส่วนในด้านระบบป้องกันอุทกภัยนั้น เรามีแผงป้องกันน้ำท่วมความสูง 11 เมตร ที่ชั้น 1 ของพิพิธภัณฑ์ และสูงกว่าระดับน้ำท่วมสูงสุดในรอบ 200 ปีที่ผ่านมา ตัวโครงสร้างของอาคารนี้ได้ผ่านมาตราฐานระดับเพชรของสถาปัตยกรรมสีเขียว(Green architecture)และใบรับรองสถาปัตยกรรมภูมิปัญญาล้ำเลิศอีกด้วย
B.
สะพานจื้อเหม่ย
สะพานจื้อเหม่ยเป็นสะพานข้ามทะเลสาบที่สามารถสร้างความงามให้ทัศนียภาพอีกจุดหนึ่ง สะพานหลังนี้ถ้ามองจากระดับต่ำแล้วจะดูคล้ายกับเส้นโค้งรูปทรงน้ำเต้ากลมคู่ที่ผงาดจากห้องน้ำเส้นหนึ่ง ความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลางตรงจากหัวกับท้ายของสะพาน 142 เมตร และเพื่อไม่ให้เสาสะพานส่งผลเสียหายต่อระบบป้องกันอุทกภัยใต้ท้องทะเลสาบ จึงออกแบบให้เป็นสะพานโค้งลอยฟ้าไร้เสาตอม่อ เราได้เลือกใช้โครงเหล็กกล้าชิ้นเดียวมาสร้างสะพานลอยฟ้านี้ สำหรับตัวโครงสร้างของสะพานนี้เราไม่เน้นความอลังการแต่เน้นความเบาบางเป็นหลัก ตัวรับน้ำหนักของโครงสร้างสะพานนั้นก็คือส่วนโค้งหลักสองด้านกับโครงเหล็กคานบนสะพานที่เป็นรูปตัว “S” โครงเหล็กคานบนสะพานประกอบด้วยโครงเหล็กกล้า 25 เส้น ที่มีความยาวและมุมตั้งแตกต่างกัน เราจะสามารถมองเห็นภูมิทัศน์อื่นงดงามของความโค้งที่สลับไปมาตามลำดับของโครงเหล็กคานของสะพาน ปรากฎให้เห็นความรู้สึกเปลี่ยนแปลงและมุมมองที่สลับไปมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป
เพื่อให้โครงเหล็กคานสะพานมีความรู้สึกเด่นชัดขึ้น อีกทั้งยังคำนึงถึงการระบายน้ำของแผงกันแดด ดังนั้นจึงออกแบบหน้าสะพานให้เป็นแบบโครงสร้างเปลือย อำนวยประโยชน์ให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นชมทัศนียภาพบนสะพานได้ทั้งซ้ายและขวา และสามารถชมภูมิทัศน์ของทางเหนือและใต้ของทะเลสาบได้อีกด้วย ระดับหน้าสะพานระหว่างทิศเหนือและทิศใต้ต่างกันราว 1 เมตร สร้างความรู้สึกสามารถสัมผัสกับพื้นน้ำ และทำให้เกิดความเบาพริ้วระหว่างสะพานกับท้องน้ำได้อย่างลงตัว
C.
ทัศนียภาพในเขตอุทยาน
เน้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ที่มาเข้าชมพิพิธภัณฑ์และการพักผ่อนหย่อนใจของผู้อยู่อาศัยในบริเวณนั้น อีกทั้งยังสามารถออกแบบเพื่อการป้องกันอุทกภัยและสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมรอบข้างอีกด้วย อุทยานแห่งนี้ถูกล้อมรอบไปด้วยทางเดินเท้า ประกอบกันเป็นเส้นทางที่งดงามและคล่องตัวต่อการเดินชมทัศนียภาพในอุทยาน ในขณะเดียวกันยังมีพืชสวนน้ำ สวนป่าเขตร้อน สวนดอกไม้ตามเทศกาลสำคัญต่าง ๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังจัดให้มีสระน้ำ ศาลา และทางเดินอีกด้วย ภูมิทัศน์อันล้ำเลิศนี้ยังประกอบไปด้วย "แผ่นหินระลึกวันเริ่มก่อสร้างพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติกู้กงเขตภาคใต้" เนินแห่งศิลปะ เวทีริมน้ำและหอชมทิวทัศน์ เป็นต้น