นิทรรศการถาวร
ชาหอมสู่แดนไกล-นิทรรศการวัฒนธรรมชาแห่งเอเชีย
ชิมชา เป็นการใช้ชีวิต เป็นแฟชั่น เป็นศิลปะ เป็นวัฒนธรรมและยังเป็นภาษาร่วมของนักดื่มชาทั้งหลาย บ้านเกิดของชาอยู่ที่ประเทศจีน มีการพัฒนาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้เปลี่ยนจากน้ำสมุนไพรแก้กระหายน้ำ ผ่านวิธีการต้มทอดจิบชิมในสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ่ง จนถึงการแช่ชงค่อยชิมในสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง ซึ่งเป็นไปตามกรรมวิธีผลิตชาที่เปลี่ยนแปลงไป วิธีการใช้เครื่องชาและการชิมก็เปลี่ยนตามกันไปด้วย ในเขตราชวงศ์ฮั่นประเพณีในการดื่มชา ได้เผยแพร่ออกไปโดยทางการทูตและการค้า กลมกลืนเข้าไปสู่การใช้ชีวิตของชาวมองโกลและชาวทิเบต ความต้องการในด้านใบชาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เส้นทางโบราณแห่งม้าชาจึงก่อเกิดขึ้นมา พัฒนามาเป็นวิธีการดื่มชาและภาชนะของชนเผ่าเร่ร่อน
ในช่วงราชวงศ์ถังและซ่ง วิธีการชิมชาได้แพร่สู่ประเทศญี่ปุ่นจากประเทศจีนโดยผ่านทูตชาวญี่ปุ่น พระผู้แสวงหาความรู้และพ่อค้า และรวมเข้ากับจิตวิญญาณวัฒนธรรมและมารยาทในท้องถิ่น จนพัฒนามาเป็นพิธีชงชาสไตล์ญี่ปุ่นที่พิถีพิถัน ในตอนท้ายของราชวงศ์หมิง พระสงฆ์ในมณฑลฝูเจี้ยนได้นำมาซึ่งวิธีการดื่มชาสไตล์ฝูเจี้ยนและเครื่องชงชาอี้ชิง รวมกับวิธีการดื่มชาที่เรียบง่ายของชาวญี่ปุ่นจนกลายมาเป็น[เซนชาโด]ในช่วงปลายราชวงศ์หมิงและช่วงต้นของราชวงศ์ชิง นิสัยการดื่มชายังตามรอยเท้าของผู้อพยพจากชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ได้แพร่กระจายไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน ไต้หวันไม่เพียงแต่จะสานต่อประเพณีการดื่มชาแบบ[ชากังฟู]ในภูมิภาคฝูเจี้ยนกว่างโจวเท่านั้น แต่ยังได้ผลักดันบรรยากาศการดื่มชาให้กลายเป็นงานศิลปะ ตามที่ได้บันทึกใน[บันทึกแห่งเมืองจูลั๋ว] พบว่ามีต้นชาป่าในไต้หวันตอนกลางและตอนใต้ แสดงให้เห็นว่าไต้หวันมีความเหมาะในการเพาะปลูก พ่อค้าชาได้แนะนำสายพันธุ์ชาและวิธีการผลิตจากฝูเจี้ยนทางใต้และปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในที่สุดก็พัฒนามาเป็นชาภูเขาสูงในช่วงปี1980 โดยกระจายตามเขตภูเขาในภาคกลางภาคใต้เป็นหลัก
นิทรรศการแบ่งออกเป็น 3 หน่วยตามความเป็นมาที่ได้กล่าวไปข้างต้นโดยแบ่งเป็น[เมืองชา-วัฒนธรรมชาจงหัว] [ชาโด-วัฒนธรรมชาญี่ปุ่น]และ[ชาสนุก-ชากังฟูไต้หวัน]เป็นต้น จัดแสดงวัตถุโบราณที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมชาที่ทางพิพิธภัณฑ์เก็บสะสม แสดงออกถึงวิธีการชิมชาและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ตามแต่ละพื้นที่;และอาศัยซุ้มชาสมัยราชวงศ์หมิง ห้องชาญี่ปุ่นและโต๊ะชาปัจจุบันในการแสดงสถานการณ์ในการดื่มชา สร้างบรรยากาศที่เป็นเอกลักษณ์พิเศษของการดื่มชาในแต่ละช่วงของกาลเวลา นำพาผู้ชมได้รู้จักกับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนของชาในเอเชีย จนพัฒนาเป็นวัฒนธรรมชาที่ต่างมีเอกลักษณ์ของตนและกลมกลืนกันได้